ID : MU-JS-V-1504001
สภาพ 90% เป็นเสื้อแข่งทีมเหย้าของ UMBRO หมายเลข 7 ผ้าสักหลาดเดิม
รายละเอียด
เป็นปีสุดท้ายที่ คันโตน่าเล่นให้กับแมนยู ก่อนแขวนสตั๊ด วีรบุรุษผู้ที่มีส่วนทำให้แมนยูคว้าแชมป์พรีเมียร์ลึกถึง 4 ครั้ง ในเวลาที่เขาเล่นให้แมนยู 5 ปี
ก็องโตนาในเทศกาลภาพยนตร์เมืองกาน ค.ศ. 2009 | |||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | เอริก ดาเนียล ปีแยร์ ก็องโตนา | ||
วันเกิด | 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1966 | ||
สถานที่เกิด | มาร์แซย์, ฝรั่งเศส | ||
ส่วนสูง | 1.88 เมตร (6 ft 2 in) | ||
ตำแหน่ง | กองหน้า | ||
สโมสรเยาวชน | |||
1980–1981 | แอ็สโอ เลกายอล (SO Les Caillols) | ||
1981–1983 | โอแซร์ | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น† | (ประตู)† |
1983–1988 | โอแซร์ | 82 | (23) |
1985–1986 | → มาร์ตีก (ยืมตัว) | 15 | (4) |
1988–1991 | มาร์แซย์ | 40 | (13) |
1989 | → บอร์โด (ยืมตัว) | 11 | (6) |
1989–1990 | → มงเปอลีเย (ยืมตัว) | 33 | (10) |
1991 | นีม | 17 | (2) |
1992 | ลีดส์ยูไนเต็ด | 28 | (9) |
1992–1997 | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | 143 | (64) |
รวม | 369 | (131) | |
ทีมชาติ | |||
1987–1995 | ฝรั่งเศส | 45 | (20) |
2005 | ฝรั่งเศส (ชายหาด) | 1 | (1) |
บริหารทีม | |||
2005–2011 | ฝรั่งเศส (ชายหาด) | ||
2010–2012 | นิวยอร์กคอสมอส (ผู้จัดการฟุตบอล) | ||
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้ทีมสโมสร นับเฉพาะลงเล่นในประเทศ † ลงเล่น (ประตู) |
เอริก ดาเนียล ปีแยร์ ก็องโตนา (ฝรั่งเศส: Éric Daniel Pierre Cantona; เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) ที่เมืองมาร์แซย์ ประเทศฝรั่งเศส เล่นฟุตบอลอาชีพกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรสุดท้าย ก็องโตนาประสบความสำเร็จได้แชมป์พรีเมียร์ลีกถึง 4 สมัย ภายในเวลา 5 ปี รวมไปถึงการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกและฟุตบอลถ้วยเอฟเอคัพ ภายในฤดูกาลเดียวกันอีกสองสมัย
ในปี พ.ศ. 2543 ได้รับการโหวตจากแฟนทีมให้เป็นนักฟุตบอลแห่งศตวรรษ แฟน ๆ ยังคงกล่าวถึงก็องโตนา โดยเรียกเขาว่า "เอริกเดอะคิง" จนถึงทุกวันนี้
การเล่นฟุตบอลในฝรั่งเศส[แก้]
ก็องโตนาเริ่มเล่นฟุตบอลกับสโมสรออแล็งปิกเดอมาร์แซย์ เป็นคนที่ค่อนข้างหัวเสียง่าย มีอยู่ครั้งหนึ่งในขณะที่ลงแข่งขันนัดกระชับมิตรกับทีมตอร์เปโดมอสโก เขาถูกเปลี่ยนตัวออก แล้วได้แสดงอาการไม่พอใจด้วยการฉีกเสื้อแล้วขว้างทิ้ง เขาถูกลงโทษห้ามลงแข่งเป็นเวลา 1 เดือน อีก 2-3 สัปดาห์หลังจากนั้น เขาก็ได้ออกมากล่าวโจมตีผู้ฝึกสอนทีมชาติฝรั่งเศสทางโทรทัศน์
ก็องโตนาย้ายสู่บอร์โดด้วยสัญญายืมตัว หลังจากนั้นก็ได้ย้ายไปเล่นให้กับมงเปอลีเยซึ่งเขาได้สัมผัสกับถ้วยแชมป์กุปเดอฟร็องส์เป็นครั้งแรก ก่อนจะถูกมาร์แซย์ดึงตัวกลับมา แต่เขาก็ยังถูกขายให้กับสโมสรนีม
เขาถูกห้ามลงแข่งขันอีกครั้งเป็นเวลา 1 เดือน จากการขว้างบอลใส่ผู้ตัดสิน และก็องโตนาก็ให้สัมภาษณ์วิจารณ์คำตัดสินอีก จึงถูกลงโทษเพิ่มเป็น 2 เดือน และนี่เองเปรียบเสมือนฟางเส้นสุดท้ายของก็องโตนา เขาจึงตัดสินใจแขวนสตั๊ด
ต้องขอบคุณแฟนฟุตบอลพันธุ์แท้รายหนึ่ง ที่ชักจูงให้ก็องโตนากลับมาเริ่มต้นเล่นฟุตบอลอีกครั้งที่ประเทศอังกฤษ
การเล่นฟุตบอลในอังกฤษ[แก้]
หลังจากมาทดสอบฝีเท้ากับสโมสรเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ ก็องโตนาก็ได้ย้ายเข้าสู่สโมสรลีดส์ยูไนเต็ดในปี พ.ศ. 2535 ก็องโตนาพายูงทองเถลิงบัลลังก์แชมป์ดิวิชัน 1 (เดิม) ได้ทันทีในฤดูกาลนั้นเอง (1991-92) แต่ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ก็องโตนาก็ย้ายสโมสรอีกครั้งหนึ่ง โดยเข้าสังกัดแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยค่าตัวที่ปีศาจแดงจ่ายให้กับลีดส์เพียงแค่ 1.2 ล้านปอนด์ เท่านั้น
ขณะนั้นทีมปีศาจแดงกำลังประสบกับปัญหาปืนฝืด ไม่สามารถทำประตูคู่แข่งได้เนื่องมาจากการที่สโมสรขายมาร์ก รอบินส์ และดีออน ดับลิน ซึ่งประสบปัญหาการบาดเจ็บออกไป
อย่างไรก็ตาม ก็องโตนาปรับตัวเข้ากับสโมสรแห่งใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เขาสามารถทำประตูและส่งให้เพื่อนร่วมทีมทำประตูได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
2 ฤดูกาลต่อมา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่ง โดยคว้าแชมป์ลีกในปีพ.ศ. 2536 และดับเบิลแชมป์ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งก็องโตนาทำประตูจากลูกจุดโทษสองประตูถล่มเชลซี 4-0 ในนัดชิงชนะเลิศของเอฟเอคัพ
ก็องโตนาก่อเรื่องน่าอายขึ้นในเกมเยือนคริสตัลพาเลซ เดือนมกราคม ฤดูกาลถัดมา (พ.ศ. 2538) เมื่อกระโดดถีบใส่แมตทิว ซิมมอนส์ แฟนบอลทีมเจ้าบ้าน หลังจากโดนผู้ตัดสินไล่ออกจากสนาม
ในงานแถลงข่าวภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว กลุ่มนักข่าวพากันมารอสัมภาษณ์ก็องโตนา เขาได้เดินเข้ามานั่งก่อนจะกล่าวว่า เมื่อนกนางนวลบินตามเรือประมง... ก็เพราะพวกมันคิดว่าปลาซาร์ดีนจะถูกโยนลงมาในทะเล เพียงเท่านี้ก็ลุกออกจากห้องไป สร้างความงุนงงให้กับกองทัพนักข่าวทั้งหลาย
ก็องโตนาถูกศาลชั้นต้นสั่งลงโทษจำคุกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะเปลี่ยนบทลงโทษให้เป็นทำงานบริการสังคมเป็นเวลา 120 ชั่วโมงแทน นอกจากนี้สมาคมฟุตบอลอังกฤษยังสั่งลงโทษก็องโตนาห้ามลงสนามจนกว่าจะถึงเดือนตุลาคมอีกด้วย
มีการคาดการณ์กันไปต่าง ๆ นานา ว่าก็องโตนาอาจจะยุติการค้าแข้งที่อังกฤษหลังจากพ้นโทษแบน แต่อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เป็นผู้ที่ชักจูงให้ก็องโตนาอยู่กับทีมต่อไป ซึ่งในช่วงต้นฤดูกาลนั้นสโมสรได้ขายผู้เล่นสำคัญบางคนออกไปและเลื่อนชั้นนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาแทน ทำให้ความหวังในการคว้าแชมป์ไม่สู้จะดีนักเช่นเดียวกับในปี พ.ศ. 2535
ก็องโตนายิงประตูจากลูกจุดโทษในเกมพบกับลิเวอร์พูลได้ในนัดประเดิมสนามหลังจากพ้นโทษ และประตูของเขาก็ช่วยให้สโมสรคว้าแชมป์ลีกได้หลังจากต้องเป็นฝ่ายไล่ตามหลัง 10 คะแนนตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นมา และเป็นทีมแรกที่สามารถคว้าดับเบิลแชมป์ได้สองสมัยติดต่อกันหลังจากก็องโตนาทำประตูชัยได้ในนัดชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ได้อีกครั้งในฤดูกาล 1996-97 ทำให้ก็องโตนาได้แชมป์ลีกไปแล้วถึง 6 ครั้งในรอบ 7 ปี ยกเว้นเพียงปีที่เขาโดนแบนเท่านั้น หลังฤดูกาลจบลง ก็องโตนาก็สร้างความประหลาดใจให้กับแฟนบอลด้วยการประกาศเลิกเล่นในขณะที่อายุเพิ่งจะ 30 ปีเท่านั้น ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานได้เปลี่ยนไปเล่นฟุตบอลชายหาดให้กับทีมชาติฝรั่งเศส โดยเป็นกัปตันทีมด้วย
ในปี พ.ศ. 2547 ก็องโตนาได้ให้สัมภาษณ์อีกครั้งโดยได้กล่าวว่า ผมภูมิใจที่แฟน ๆ ยังคงร้องเรียกชื่อผม แต่ผมกลัวว่าพรุ่งนี้พวกเขาอาจจะไม่ทำเช่นนั้น ผมกลัวเพราะผมรักมัน และทุก ๆ สิ่งที่คุณรัก คุณก็ต้องกลัวที่จะเสียมันไป คำพูดนี้ได้ถูกนำมาประกอบลงไปในวอลเปเปอร์ของสโมสรที่ให้แฟน ๆ ในเว็บไซต์ของสโมสร
การเล่นให้กับทีมชาติฝรั่งเศส[แก้]
ก็องโตนาเป็นที่ชื่นชอบของมีแชล ปลาตีนี ซึ่งเป็นผู้จัดการทีมชาติในขณะนั้น ซึ่งปลาตีนีพูดถึงก็องโตนาว่า เขาจะต้องเลือกก็องโตนาเป็นหนึ่งในขุนพลเลอเบลออย่างแน่นอน ถ้ายังเล่นได้อย่างสุดยอด ปลาตีนีเป็นอีกคนหนึ่งที่ริเริ่มความคิดการเล่นฟุตบอลในอังกฤษให้กับก็องโตนา
ภายหลังล้มเหลวจากศึกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 ที่ประเทศสวีเดน ปลาตีนีก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งขณะนั้นฝรั่งเศสมีคู่ศูนย์หน้า คือ ก็องโตนาและฌ็อง-ปีแยร์ ปาแป็ง ผู้ที่เข้ามารับงานต่อจากปลาตีนีก็คือ เฌราร์ อูลีเย
ฝรั่งเศสไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือกไปเล่นฟุตบอลโลกที่สหรัฐอเมริกาได้ในอีกสองปีต่อมา หลังจากที่แพ้บัลแกเรียคาบ้าน 2 ต่อ 1 ซึ่งฝรั่งเศสต้องการเพียงแค่ผลเสมอ ในเกมนั้น ดาวีด ฌีโนลา ทำบอลเสียนำไปสู่การได้ประตูชัยของบัลแกเรียโดยเอมิล กอสตาดีนอฟ ทำให้ก็องโตนาโกรธฌีโนลามาก หลังเกมนั้น อูลีเยลาออกจากตำแหน่ง ทำให้เอเม ฌาแก เข้ามาสานงานต่อ
สองปีต่อมา ฝรั่งเศสผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 ที่อังกฤษได้สำเร็จ ซึ่งฌาแกได้ปรับปรุงทีมโดยใช้ผู้เล่นสายเลือดใหม่สองสามคน หนึ่งในนั้นก็คือกองกลางจอมทัพซึ่งมีลีลาการเล่นที่น่าตื่นตาตื่นใจและมีความเป็นผู้นำสูงอย่างซีเนดีน ซีดาน โดยก็องโตนาถูกหมางเมิน
หลายฝ่ายต่างคาดการณ์กันว่า ก็องโตนาคงจะหลุดจากทีมชาติชุดลุยบอลโลกที่ประเทศตัวเองอย่างแน่นอน และมีข่าวเล็ดลอดออกมาว่า ก็องโตนาประกาศเลิกเล่นตอนสิ้นปี พ.ศ. 2542 ก็เพราะว่าต้องการหลีกเลี่ยงแรงกดดันที่ฌักเก้ต์และทีมชาติฝรั่งเศสต้องเผชิญจากการที่ไม่เลือกเขาร่วมทีม
ฝรั่งเศสสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกที่ประเทศตัวเองได้สำเร็จ โดยซีดานทำสองประตูในนัดชิงชนะเลิศกับบราซิล
ชีวิตหลังเลิกค้าแข้ง[แก้]
หลังจากแขวนสตั๊ดแล้ว ก็องโตนาก็หันไปเป็นนักแสดงในประเทศฝรั่งเศส นอกจากเป็นนักแสดงแล้ว เขายังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ขนาดสั้นด้วย ก็องโตนาเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะนักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง เอลิซาเบท ที่เขาเล่นเป็นทูตชาวฝรั่งเศส นอกจากนี้เขาก็ยังรับงานนายแบบโฆษณาให้กับบริษัทไนกี้ด้วย
ในช่วงก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2002 (พ.ศ. 2545) ก็องโตนาก็เล่นภาพยนตร์โฆษณาให้กับไนกี้ร่วมกับตีแยรี อ็องรี, โรเบร์ตู การ์ลูส, โรนัลโด และลูอีช ฟีกู โดยก่อนหน้านี้ เขาก็เคยเล่นภาพยนตร์โฆษณาให้กับไนกี้ในประเทศอังกฤษ ในการปรากฏตัวร่วมกับเอียน ไรต์, สตีฟ มักแมนามัน และร็อบบี ฟาวเลอร์ด้วย
สถิติ[แก้]
สถิติสโมสร
ฤดูกาล | สโมสร | ดิวิชัน | ลีก | คัพ | ลีกคัพ | ลีกทวีป | อื่น ๆ | ทั้งหมด | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แข่ง | ประตู | แข่ง | ประตู | แข่ง | ประตู | แข่ง | ประตู | แข่ง | ประตู | แข่ง | ประตู | |||
ฝรั่งเศส | ลีก | กุปเดอฟร็องส์ | กุปเดอลาลีก | ยุโรป | อื่น ๆ | รวม | ||||||||
1983–84 | โอแซร์ | ลีกเอิง | 2 | 0 | 0 | 0 | – | – | – | 2 | 0 | |||
1984–85 | 5 | 2 | 0 | 0 | – | 0 | 0 | – | 5 | 2 | ||||
1985–86 | 7 | 0 | 0 | 0 | – | 1 | 0 | – | 8 | 0 | ||||
1985–86 | มาร์ตีก | ลีกเดอ | 15 | 4 | 0 | 0 | – | – | – | 15 | 4 | |||
1986–87 | โอแซร์ | ลีกเอิง | 36 | 13 | 4 | 4 | – | – | – | 40 | 17 | |||
1987–88 | 32 | 8 | 5 | 1 | – | 2 | 1 | – | 39 | 10 | ||||
1988–89 | มาร์แซย์ | 22 | 5 | 0 | 0 | – | – | – | 22 | 5 | ||||
1988–89 | บอร์โด | 11 | 6 | 1 | 0 | – | 0 | 0 | – | 12 | 6 | |||
1989–90 | มงเปอลีเย | 33 | 10 | 6 | 4 | – | – | – | 39 | 14 | ||||
1990–91 | มาร์แซย์ | 18 | 8 | 0 | 0 | – | 3 | 1 | – | 21 | 9 | |||
1991–92 | นีม | 17 | 2 | 0 | 0 | – | – | – | 17 | 2 | ||||
อังกฤษ | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ยุโรป | แชริตีชีลด์ | รวม | ||||||||
1991–92 | ลีดส์ยูไนเต็ด | เฟิสต์ดิวิชัน | 15 | 3 | 0 | 0 | 0 | 0 | – | – | 15 | 3 | ||
1992–93 | พรีเมียร์ลีก | 13 | 6 | 0 | 0 | 1 | 0 | 5 | 2 | 1 | 3 | 20 | 11 | |
1992–93 | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | 22 | 9 | 1 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | – | 23 | 9 | ||
1993–94 | 34 | 18 | 5 | 4 | 5 | 1 | 4 | 2 | 1 | 0 | 49 | 25 | ||
1994–95 | 21 | 12 | 1 | 1 | 0 | 0 | 2 | 0 | 1 | 1 | 25 | 14 | ||
1995–96 | 30 | 14 | 7 | 5 | 1 | 0 | 0 | 0 | – | 38 | 19 | |||
1996–97 | 36 | 11 | 3 | 0 | 0 | 0 | 10 | 3 | 1 | 1 | 50 | 15 | ||
ลีกฝรั่งเศส | 198 | 58 | 16 | 9 | — | 6 | 2 | — | 220 | 69 | ||||
ลีกอังกฤษ | 171 | 73 | 17 | 10 | 7 | 1 | 21 | 7 | 4 | 5 | 220 | 96 | ||
รวมทั้งหมด | 369 | 131 | 33 | 19 | 7 | 1 | 27 | 9 | 4 | 5 | 440 | 165 |
ก่อนหน้า | เอริก ก็องโตนา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พอล มักกราท | นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ (พ.ศ. 2537) | แอลัน เชียเรอร์ | ||
เยือร์เกิน คลินส์มันน์ | นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ (พ.ศ. 2539) | จันฟรังโก โซลา |
1996–97 season | |
Chairman | Martin Edwards |
---|---|
Manager | Alex Ferguson |
Premier League | 1st |
FA Cup | Fourth Round |
Coca-Cola Cup | Fourth Round |
Charity Shield | Winners |
UEFA Champions League | Semi-finals |
Top goalscorer | League: Ole Gunnar Solskjær (18) All: Ole Gunnar Solskjær (19) |
Highest home attendance | 55,314 vs Wimbledon (29 January 1997) |
Lowest home attendance | 31,966 vs Swindon Town (23 October 1996) |
Average home league attendance | 54,34 |
ขอบคุณภาพจาก google
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น